วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การระเหิด1. การแยกสารผสม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแยกสาร ม.2
การแยกสารเนื้อเดียว
1.การตกผลึก(Crystallization)
  การตกผลึก เป็นการแยกของแข็งที่ละลายอยู่ในของเหลว โดยทำให้เป็นสารละลายอิ่มตัว แล้วปล่อยให้สารละลายเย็นตัวลงอย่างช้าๆจะได้ของแข็งตกผลึกออกมา ใช้สำหรับแยกของแข็งที่ปนกันอยู่หลายชนิดออกจากกันได้ สารที่ละลายได้น้อยกว่าจะถึงจุดอิ่มตัวก่อน  จึงตกผลึกออกมาได้ก่อน ส่วนสารที่ละลายได้ดีกว่าจะถึงจุดอิ่มตัวหลัง จึงตกผลึกออกมาช้ากว่า
                 เช่น - การแยกเกลือชนิดต่างๆออกจากน้ำทะเล
                        - การแยกสารละลายของแนฟทาลีนและกรดเบนโซอิกในเอทานอล
                        - การแยกเกลือและน้ำตาลที่ละลายอยู่ในน้ำ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การตกผลึก

2.การกลั่น(Distillation)
  การกลั่น เป็นการแยกของเหลวที่ปนกับของแข็งในสารละลายออกจากกัน โดยให้ความร้อนแก่สารละลาย ของเหลวเมื่อได้รับความร้อนจะกลายเป็นไอแล้วผ่านไอไปยังเครื่องควบแน่น
(Condenser)ไอจะควบแน่นกลับเป็นของเหลวที่กลั่นได้
เนื่องจาก: ของเหลวมีจุดเดือดต่ำ ระเหยเป็นไอได้ง่ายจึงกลั่นตัวออกมาได้ ส่วนของแข็ง                           จุดเดือดสูงกว่ามากจึงยังคงอยู่ในสารละลาย แต่ถ้ากลั่นต่อไปเรื่อยๆจะมีของแข็ง                     ตกผลึกอยู่ก้นภาชนะ
                เช่น - การแยกน้ำจากน้ำทะเล
                       - การแยกน้ำจาน้ำเกลือหรือน้ำเชื่อม
 การกลั่นตามวิธีดังกล่าวข้างต้นเป็นการกลั่นอย่างง่ายเรียกว่า ' การกลั่นแบบธรรมดา ' แต่ถ้าในสารละลายมีของเหลวปนกันอยู่หลายชนิด และมีจุดเดือดใกล้เคียงกันจะต้องใช้วิธีการกลั่นที่เรียกว่า ' การกลั่นลำดับส่วน '
  การกลั่นลำดับส่วน เป็นการกลั่นแยกของเหลวที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกันออกจากสารละลาย โดยให้ความร้อนแก่สาร ไอของสารระเหยขึ้นไปผ่านเครื่องมือที่เป็นคอลัมน์ จะทำให้ไอแยกออกเป็นส่วนๆตามช่วงอุณหภูมิ สารที่มีจุดเดือดต่ำจะระเหยขึ้นไปทางตอนบนของคอลัมน์ ส่วนสารที่มีจุดเดือดสูงกว่าจะอยู่ทางตอนล่างของคอลัมน์
เช่น - การกลั่นน้ำมันดิบ หรือน้ำมันปิโตรเลียม
       - การแยกเอทานอล เฮกเซน และไทลูซีนออกจากกัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การกลั่น
3.โครมาโทกราฟี(Chromatography)
  โครมาโทกราฟี เป็นวิธีการแยกสารและวิเคราะห์สารที่มีปริมาณน้อยได้ดี มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ
 1. ตัวทำละลาย(Mobile phase) เป็นตัวพาสารให้เคลื่อนที่ไปได้ เช่น น้ำเกลือ เอทานอล ในน้ำ
 2. ตัวดูดซับ(Stationary phase) เป็นตัวดูดซับสารในระหว่างที่เคลื่อนที่ไป เช่น กระดาษกรอง แท่งชอล์ก ผงอะลูมินา
  วิธีการนี้จึงอาสัยสมบัติเกี่ยวกับการละลายในตัวทำละลายได้ต่างกัน และการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับได้ต่างกันด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โครมาโทกราฟี

การแยกสารเนื้อผสม
1.การกรอง(Filtration)
  การกรอง เป็นวิธการแยกของแข็ง หรือตะกอนออกจากของเหลว หรือสารละลายโดยผ่านสารลงบนกระดาษกรอง ตะกอนหรือของแข็งจะตกค้างอยู่บนกระดาษกรอง ส่วนของเหลวและสารละลายจะผ่านกระดาษกรองลงสู่บิกเกอร์
  การกรองเป็นการแยกที่มีขนาดใหญ่ออกจากของเหลวหรือสารละลาย ซึ่งสารที่กรองได้อาจไม่ใช่สารบริสุทธิ์ แต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การกรองน้ำผ่านเครื่องกรอง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การกรอง

2.การระเหิด
  การระเหิด เป็นการเปลี่ยนแปลงของสารจากของแข็งเป็นแก๊ส โดยไม่เปลี่ยนเป็นของเหลวก่อน สารบางชนิดที่สามารถระเหิดได้ เช่น แนฟทาลีน(ลูกเหม็น) พิมเสน การบูร ในการแยกสารผสมดังกล่าวปนอยู่จึงสามารถใช้วิธีการระเหิดได้

3.การใช้แม่เหล็ก
  เป็นการแยกสารออกจากของผสม โดยสารที่แยกต้องมีสมบัติดึงดูดกับแม่เหล็กได้ เช่น
 - การแยกผงตะไบเหล็กออกจากผงกำมะถัน
 - การแยกเหล็กออกจากสินแร่ในธรรมชาติ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใช้แม่เหล็กดูด